ประวัติโรงเรียนบ้านวังช้าง
โรงเรียนบ้านวังช้าง ได้เริ่มก่อตั้งและเปิดทำการสอนเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2481 บนที่ดินของนายอุดม มารัญพาล ซึ่งอุทิศให้จำนวน 15 ไร่ โดยในระยะเริ่มแรกได้ก่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราวกั้นและมุงด้วยจาก จุนักเรียนได้ประมาณ 30 คน เปิดทำการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยมีนายสังวาล พรหมเมศร์เป็นครูใหญ่คนแรก ต่อมาได้รับงบประมาณจำนวน 5000 บาท ราษฎรในท้องถิ่นสมทบอีก จำนวน 11,000 บาทรวมเป็นเงิน 16,000 บาท นำมาปรับปรุงอาคารเรียนชั่วคราวให้ดีขึ้นโดยมุงสังกะสีและกั้นไม้กระดาน
ปี พ.ศ.2513 ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนแบบ ป.1 ก. ขนาด 3 ห้องเรียน จำนวน 1 หลัง เป็นเงิน 100,000 บาท แล้วเสร็จและนักเรียนได้ย้ายเข้าเรียนเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2513 โดยเปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีนักเรียนประมาณ 100 คน
ปี พ.ศ.2516 ได้รับงบประมาณให้ก่อสร้างอาคารเรียนแบบ ป.1 ก.เพิ่มเติมอีก 1 หลัง เป็นเงิน 100,000 บาท
ปี พ.ศ.2517 ได้เปิดสอนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ปี พ.ศ.2518 เปิดสอนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ปี พ.ศ.2519 เปิดสอนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 7 และในปีนี้ ได้รับงบประมาณในการก่อสร้างอาคารเรียนแบบ 017 ขนาด 4 ห้องเรียน จำนวน 1 หลัง เป็นเงิน 35,0000 บาท
ปี พ.ศ.2520 ได้รับงบประมาณเพื่อต่อเติมชั้นล่างของอาคารเรียนแบบ 017 อีกจำนวน 4 ห้องเรียน เป็นเงิน 150,000 บาท พร้อมงบประมาณในการก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์ 1 หลัง เป็นเงิน 73,000 บาท
ปี พ.ศ.2526 ได้รับงบประมาณในการก่อสร้างสนามกีฬา เป็นเงิน 50,000 บาท
ปี พ.ศ.2529 ได้รับงบประมาณก่อสร้างเรือนเพาะชำ ขนาด 4 6 เมตร จำนวน 1 หลัง เป็นเงิน 5,000 บาท
วันที่ 28 มกราคม 2529 เจ้าหน้าที่ราชพัสดุจังหวัดชุมพร ได้มาทำการสำรวจ รังวัดที่ดินของโรงเรียนใหม่ ปรากฏว่ามีพื้นที่ทั้งหมด 40 ไร่ 3 งาน 01 ตารางวา โดยนำขึ้นทะเบียนที่ราชพัสดุ เลขที่ ชพ.387
วันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ.2532 เวลา 08.00 น. ได้เกิดพายุใต้ฝุ่นชื่อว่า “เกย์” พัดเข้าถล่มอำเภอปะทิวทำให้โรงเรียนบ้านวังช้างได้รับความเสียหายอย่างหนักทั้งอาคาร สิ่งก่อสร้าง วัสดุ อุปกรณ์ ตลอกทั้ง เอกสาร หลักฐานของทางราชการได้รับความเสียหายเกือบหมด ซึ่งในขณะนั้นโรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีครู 13 คน นักเรียน 224 คน โดยมีนายสถาพร ลือชัย เป็นอาจารย์ใหญ่
เอกชน โดยมีสมคมคาทอลิคเพื่อผู้ประสบภัย ( โคเออร์ ) ได้บริจาคเงินจำนวนหนึ่งเพื่อก่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราว ขนาด 4 ห้องเรียน มุงด้วยกระเบื้อง ราคา 140,000 บาท
ปี พ.ศ.2534 ได้รับงบประมาณเพื่อก่อสร้างอาคารเรียนและอาคารประกอบดังนี้
- อาคารเรียนแบบสปช. 105/29 จำนวน 1 หลัง 12 ห้องเรียน งบประมาณ 2,550,900 บาท
- อาคารอเนกประสงค์ แปปสปช.201/26 จำนวน 1 หลัง งบประมาณ 412,000 บาท
- ส้วมแบบ สปช.601/26 จำนวน 1 หลัง 8 ที่ งบประมาณ 250,000 บาท
- ถังน้ำซิเมนต์ แบบ ฝ.33 จำนวน 2 ชุด 6 ถัง งบประมาณ 100,000 บาท
ปี พ.ศ.2538 ได้รับงบประมาณในการติดตั้งไฟฟ้า จำนวน 82,000 บาท และได้รับการคัดเลือกเข้าโครงการ กศ.พช. พร้อมได้รับงบประมาณ 12,000 บาท โดยได้จัดทำหอกระจายข่าวและสวนมะพร้าวน้ำหอม
ปี พ.ศ.2539 ดำเนินการปรับปรุงสนามที่เป็นหลุมเป็นบ่อไม่สามารถใช้การได้ และปรับปรุงสภาพแวดล้อมโดยทั่วไปของโรงเรียนที่เต็มไปด้วยซากปรักหักพัง ของอาคารสิ่งก่อสร้าง ปรับระดับพื้นที่สนามให้ต่ำลงโดยอาศัยความร่วมมือจากชุมชน ไม่ต้องใช้งบประมาณของทางราชการพร้อมทั้ง
- จัดทำโตะสำหรับรับประทานอาหาร จำนวน 10 ชุดโดยขอความร่วมมือจากชุมชนคิดเป็นเงินประมาณ 20,000 บาท
- จัดทำที่สำหรับแปรงฟัน และที่ล้างจานโรงอาหาร โดยขอความร่วมมือจากชุมชนคิดเป็นเงินประมาณ 15,000 บาท
- ปรับปรุงทางเดินเข้าอาคารเรียนทั้ง 2 ด้าน คิดเป็นเงินประมาณ 5,000 บาท
- จัดทำบันได และทางเชื่อมระหว่างอาคารเรียนและโรงอาหาร คิดเป็นเงินประมาณ 5,000 บาท โดยขอความร่วมมือจากชุมชน
ปี พ.ศ.2540
- จัดดำเนินการปลูกหญ้าในสนามฟุตบอล ที่ได้ปรับพื้นที่ไว้ตั้งแต่ปี 2539 โดยอาศัยความร่วมมือจากชุมชนจนเต็มพื้นที่สนาม
- จัดทำสถานที่พักผ่อนสำหรับนักเรียน ศาลาเรือนไทยล้อเกวียนและน้ำตกโดยพระครูวรอรรถโกวิท เจ้าอาวาสวัดเอราวัณนันทิยาราม บริจาคคิดเป็นเงิน ประมาณ 25,000 บาท
- จัดทำป้ายโรงเรียนด้านหน้าติดกับถนนลาดยาง โดยการบริจาคของพระครูวรอรรถโกวิท คิดเป็นเงินประมาณ
25,000 บาท
ปี พ.ศ.2540 โรงเรียนได้รับการคัดเลือกเป็นโรงเรียนปฏิรูปการศึกษาและได้รับงบประมาณดังนี้
- งบปรับปรุงโรงเรียนให้เป็นปัจจุบัน โดยได้ทำการทาสีอาคารใหม่ เปลี่ยนบานประตูหน้าต่างที่ชำรุด ปรับปรุงรางน้ำฝน
- งบห้องปฏิบัติการทางภาษา
- งบห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์
ปี พ.ศ.2541
- ปรับปรุงห้องเรียนอนุบาลโดยการปูกระเบื้อง งบประมาณปรับปรุงห้องเรียน
ปี พ.ศ.2542
- จัดสร้างสนามเด็กเล่น โดยได้รับงบประมาณสนับสนุน จาก อบต. ชุมโค เป็นเงิน 30,000 บาท
- จัดสร้างระบบประปาโดยได้รับงบประมาณ งบกระตุ้นเศรษฐกิจจำนวน 50,300 บาท
- ขุดบ่อเลี้ยงปลางบประมาณของกรมประมง
ปี พ.ศ.2543
- สร้างห้องน้ำห้องส้วมเพิ่มเติม 1 หลัง 2 ห้อง ราคา 26,000 บาท โดยการบริจาคของคณะครูและชุมชน
- สร้างศาลาที่ประดิษฐานพระพุทธรูป ราคา 46,000 บาท โดยเงินจากการทอดผ้าป่าการศึกษา
ปี พ.ศ.2544
- ปรับปรุงบริเวณด้านหน้าอาคารเรียนและจัดตั้งศาลาล้อเกวียน
ปี พ.ศ.2545
- ก่อสร้างลานกีฬาอเนกประสงค์ สนามที่ 1
ปี พ.ศ.2549
- ก่อสร้างอาคารห้องสมุดโรงเรียน ขนาด 6x17 ตร.ม. โดยคณะกรรมการสถานศึกษาและชุมชนร่วมกันก่อสร้างและมอบให้กับโรงเรียนแทนอาคารโคเออร์เดิมที่ชำรุดและขอรื้อถอน
ปี พ.ศ.2550
- จัดทำป้ายนิเทศก์หน้าอาคารห้องสมุด
ปี พ.ศ.2551
- ได้รับงบประมาณก่อสร้างลานกีฬาอเนกประสงค์สนามที่สอง
ปี พ.ศ. 2552
- จัดระดมทุน ก่อสร้างถนนและคูระบายน้ำระยะทาง 270 เมตร งบประมาณ 250,000 บาท
ปี พ.ศ.2553
- จัดทำรั้วโรงเรียนด้านติดกับถนน 2 ด้าน โดยการจัดระดมทุน
- ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียน สปช.104/26 งบประมาณ 1,717,100 บาท(งบแปรญัตติ)
ปีพ.ศ.2554 โรงเรียนได้รับการคัดเลือกเป็นโรงเรียนดีประจำตำบลและได้รับงบประมาณ
- โครงการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานเพื่อการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง โรงเรียนดีประจำตำบลรุ่นที่ 2 จำนวน 597,200 บาท
- งบดำเนินการ 137,600 บาท จัดซื้อสื่อการเรียนการสอนตามกลุ่มสาระและ ห้องปฏิบัติการ
งบลงทุนค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง 459,600 บาท ดำเนินการปูกระเบื้องห้องเรียน สปช.105/29 จัดทำถนนคอนกรีต ด้านทิศตะวันออก ความยาว 79 เมตร จัดทำแหล่งเรียนรู้สวนพฤษศาสตร์
- โครงการโรงเรียนดีต้นแบบประจำตำบล งบรายจ่ายอื่น จำนวน งบลงทุนค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง 1,200,000บาท โดยใช้เป็นงบดำเนินงาน 52,900 บาท จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ ซ่อมแซมสนามเด็กเล่น
- ค่าครุภัณฑ์ 338,300 บาท จัดหาครุภัณฑ์ อุปกรณ์ เทคโนโลยีใช้ในการจัดการศึกษาและการเรียนการสอน
ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง 808,800 บาท โดยทำการซ่อมเปลี่ยนทางเดินเท้าเชื่อมระหว่างอาคารเรียนกับอาคารอเนกประสงค์ ปรับภูมิทัศน์ จัดทำเสาธง ปรับปรุงซ่อมแซมอาคารอเนกประสงค์ เทพื้นคอนกรีตและทำกำแพงป้องกันดินพังอาคารหลังใหม่
ปี พ.ศ. 2555
-ได้รับบริจาคเครื่องกรองน้ำ จากร้านคิวทองเจริญ ตลาดมาบอำมฤต
- ได้รับงบประมาณ โครงการโรงเรียนดี ศรีตำบล 12,000 บาท ปรับปรุงห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์
- โรงเรียนได้รับการรับรองมาตรฐานจากสมศ.จากการประเมินภายนอกรอบสามเมื่อปี 2554 ทั้งระดับปฐมวัยและระดับพื้นฐาน
-วันที่ 5 มีนาคม 2556 โรงเรียนบ้านวังช้างได้รับการประเมินจากคณะกรรมการระดับชาติผ่านการประเมินเป็นโรงเรียนดี ศรีตำบลอย่างไม่มีเงื่อนไข
- วันที่ 28 เมษายน 2556 โรงเรียนได้รับการติดตั้งระบบ อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง